ชวน เจ้าของบ้าน รู้ทัน! ภัยร้ายใกล้ตัวจากวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน
พร้อมแนะเทคนิคเลือกวัสดุ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของคนที่รักในระยะยาว
การอยู่อาศัยในปัจจุบัน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม สภาพสังคมและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ของคนยุค 4.0 จนกลายเป็นเทรนด์ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ เช่น บ้านเพื่อผู้สูงอายุ บ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัย บ้านนวัตกรรม หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งทุกเทรนด์ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งสิ้น แต่รู้หรือไม่ว่า…สิ่งหนึ่งที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษไม่ว่าคุณจะเลือกเทรนด์ที่อยู่อาศัยแบบใดก็ตาม คือ วัสดุก่อสร้างที่ใช้ใน การก่อสร้างและตกแต่งบ้านต้องปราศจากสารพิษ หรือสารเคมี เพราะวัสดุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมาพร้อมกับสารพิษร้ายแรง เช่น แร่ใยหิน (Asbestos) ตะกั่ว (Lead) เป็นต้น ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะแพร่กระจายอยู่ภายในบ้าน เมื่อสูดดม หรือสัมผัสเป็นเวลานานๆ ออกแบบบริเวณบ้าน จะส่งต่อสุขภาพผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กและผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดภูมิแพ้ ปวดศรีษะ ไอจาม ไม่สบายโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายเรื้อรังอย่าง มะเร็ง “เอสซีจี” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุก่อสร้าง จึงอยากให้เจ้าของบ้าน ประชาชนทั่วไป และผู้รับเหมาก่อสร้าง รู้ทันภัยร้ายใกล้ตัว หันมาใส่ใจกับการเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง และวัสดุตกแต่งกันมากขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างแท้จริงของสมาชิกทุกคนในบ้าน
เทคนิคดีๆ ในการเลือก 3 กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เป็นส่วนสำคัญของบ้าน
กระเบื้องหลังคา ฝ้าเพดาน และไม้สังเคราะห์ แนะนำให้เลือกผู้ผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตโดยไม่มีส่วนผสมของใยหิน ซึ่งจะใช้เส้นใยธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์พิเศษ เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตที่ปลอดภัยทดแทน แร่ใยหิน และใช้กระบวนการผลิตและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยวัตถุดิบและกระบวนการผลิตข้างต้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดีกว่าวัสดุที่มีส่วนผสมของใยหิน คือ แข็งแรง ทนทาน ไร้สารพิษ และเนื้อเหนียวมากขึ้น ทั้งยังทนทานต่อจุลินทรีย์ เชื้อรา แบคทีเรีย และสารเคมี ซึ่งเอสซีจี ถือเป็นผู้ผลิตวัสดุก่อสร้างรายแรกของไทยที่ใช้นวัตกรรมการผลิตแบบ ไม่มีใยหิน อีกทั้งได้รับการรับรองฉลาก SCG Green Choice ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อสุขภาพอนามัยด้วย
ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุที่มักเกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นวัสดุอันตรายเช่นเดียวกับใยหิน แต่ความจริงแล้ว ฉนวนใยแก้วจะมีลักษณะโครงสร้างเป็นท่อนทรงกระบอกที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะเข้าปอดได้ สำหรับเทคนิคในการเลือกฉนวนใยแก้ว ให้สังเกตมาตรฐานรับรองเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อย่างฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ซึ่งได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ (IARC) ขององค์การอนามัยโลก นอกจากนี้ฉนวนใยแก้วยังมีข้อดีด้านความปลอดภัยอีกเรื่อง คือ เป็นวัสดุที่ไม่ลามไฟจึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อย่างแท้จริง
ก๊อกน้ำ และฝักบัว ควรผลิตจากโลหะคุณภาพสูงที่ไม่ทำให้น้ำที่ไหลผ่านปนเปื้อนอนุภาคโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาทิ ทองเหลือง ทองแดงเจือ ทองบร๊อนซ์ หรือเหล็กกล้าไร้สนิม และหากมีตะกั่วผสมจะต้องมีส่วนผสมไม่เกิน ค่ามาตรฐานตามที่ มอก. กำหนดไว้ โดยเมื่อทดสอบกับน้ำจะต้องมีปริมาณตะกั่วไม่เกิน 0.007 มิลลิกรัมต่อลิตร นอกจากนี้ควรพิจารณาผิวภายนอก โดยเลือกที่ผิวเคลือบสี ไม่บุ๋ม ไม่พอง ไม่เป็นคลื่น ไม่แตก ไม่นูน ไม่ร้าว ไม่มีสิ่งสกปรกที่เป็นตำหนิ หรือรูเข็ม ซึ่งก๊อกน้ำและฝักบัวของ COTTO ใช้นวัตกรรมการควบคุมสารโลหะหนัก 4 ชนิด (ตะกั่ว, แคดเมี่ยม, ทองแดง, สังกะสี) อีกทั้งทุกรุ่นยังได้มาตรฐาน มอก. จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากสารปนเปื้อนอย่างแน่นอน
เรื่องความเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนและเป็นส่วนตัว คงต้องยกให้กับ แบบบ้านสองชั้น เพราะสามารถจัดการกับพื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ส่วนตัวได้โดยง่าย เนื่องจากระดับชั้นได้ทำหน้าที่ในการแบ่งโซนให้โดยอัตโนมัติ ส่วนใหญ่ที่นิยมกันมักออกแบบชั้นล่างไว้สำหรับพื้นที่พักผ่อนของครอบครัว มีห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหารและห้องครัว ส่วนห้องนอนของสมาชิกแต่ละคนได้ถูกยกขึ้นไปไว้บนชั้นสอง ใช้บันไดเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างกัน จึงไม่ต้องกังวลว่าแขกไปใครมาจะเข้าไปรบกวนพื้นที่ส่วนบุคคลได้ สำหรับผู้อ่านที่ชื่นชอบแบบบ้านสองชั้น บทความนี้เอสซีจีได้รวบรวมมาให้ชมถึง 8 หลังด้วยกัน ทุกหลังทำการออกแบบโดยสถาปนิกไทยทั้งหมด ลองมาชมกันครับว่าแบบไหนจะใช่บ้านในฝันของเรา
1. บ้านฟ้าบ่กั้น สร้างอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ออกแบบโดย S Pace Studio เป็นแบบบ้านสองชั้นที่สะดุดตาด้วยหลังคาทรงจั่ว ปีกชายคากว้าง ตัดกับผนังอิฐแดงที่นำมาตกแต่งเป็นฟาซาด บ่งบอกถึงความพื้นถิ่นอีสานที่คละเคล้าเข้ากับเส้นสายสไตล์โมเดิร์น เมื่อรวมเข้าด้วยกันจึงเกิดเป็นกลิ่นอายของความคลาสสิคร่วมสมัย เข้ากับสภาพอากาศในภาคอีสานเป็นอย่างดี
ด้านหน้ามีการตีหลังคายื่นออกมา ปูพื้นด้วยงานไม้ที่ขัดเงางาม เสาทรงกลมสีขาวนอกจากจะช่วยรับน้ำหนักโครงสร้างแล้ว ยังทำหน้าที่เติมเต็มช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนด้วยการผูกเปลเอาไว้นอนไกวเล่นรับลมโชยเย็น ๆ ชวนสุขใจ
2. บ้านเล็กวิลล่า ผลงานการออกแบบของ GLA.D สร้างขึ้นที่จังหวัดจันทบุรี เป็นแบบบ้านสองชั้นที่เจ้าของบ้านต้องการบ้านพักกึ่งโฮมสเตย์สำหรับครอบครัว และสามารถต้อนรับแขกได้อย่างสะดวกด้วย สถาปนิกจึงตั้งใจออกแบบบ้านให้มีความเป็นวิถีชีวิตแบบไทย ๆ โดยนำฟังก์ชันแบบใต้ถุนมาเป็นพื้นที่ชั้นล่าง โดยบางส่วนเปิดโปร่ง บางส่วนกั้นเป็นสัดส่วนเปิดปิดได้ ผสมผสานกับวัสดุทันสมัยที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
พื้นที่ชั้นบนออกแบบไว้ให้มี 4 ห้องนอน มีลานระเบียงไม้กว้าง ๆ ที่ปกคลุมด้วยชายคาขนาดใหญ่ ป้องกันแสงแดด ป้องกันฝนสาด เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองจันที่ฝนมักตกชุกอยู่เสมอ