ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องระวัง ระดับน้ำตาลในเลือด มากเป็นพิเศษ เพราะหากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ เพราะฉะนั้นการรู้เท่าทันโรคเบาหวานเมื่อตั้งครรภ์จะช่วยให้รับมือได้อย่างถูกวิธีประเภทของเบาหวาน
เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนการตั้งครรภ์ (Pregestational / Overt DM) คือ ภาวะเบาหวานที่เป็นมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
มีรายงานว่าผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ได้แก่
-
ครรภ์เป็นพิษ ร้อยละ 27
-
การแท้ง ร้อยละ 24
-
ทารกตัวโตกว่าปกติ ร้อยละ 13
-
คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 6
-
ทารกเสียชีวิตขณะคลอดและหลังคลอด ร้อยละ 6
2) เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (Gestational DM) เป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ ซึ่งนับเป็นร้อยละ 90 ของเบาหวานที่พบในผู้หญิงตั้งครรภ์ อาจเป็นเบาหวานที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยหรืออาจเป็นเบาหวานซึ่งปรากฏออกมาครั้งแรกเนื่องจากการตั้งครรภ์
กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก
- ผู้ป่วยที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน